ห้องเย็นแต่ละแห่งมีอุณหภูมิที่ต่างกัน บางแห่งอุณหภูมิอาจต่ำกว่า -40°C เลยที่เดียว อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อทำงานในห้องเย็น มีดังนี้
- อุบัติเหตุเนื่องจากคนถูกขังติดอยู่ในห้องเย็น
- อุบัติเหตุจากสารทำความเย็นรั่ว
- การบาดเจ็บจากความเย็น
- ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดอุบัติเหตุ
- อันตรายจากน้ำแข็งที่เกิดขึ้น
- เพิ่มโอกาสมากขึ้นที่ทำให้อุปกรณ์เครื่องมือชำรุด.
การทำงานในห้องเย็นจำเป็นต้องมีการประเมินความเสี่ยง
สารทำความเย็นสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้ดังนี้ :
1 ฮาโลคาร์บอน(Halocarbons)
อันตราย :
- มีสถานะคงที่ มีความเป็นพิษต่ำ ติดไฟง่าย
- เข้าแทนที่ออกซิเจน ทำให้สำลักได้
การป้องกัน :
- ติดตั้งเครื่องตรวจสอบและเตือนภัย จากการตรวจจับไอของสาร
- ติดตั้งระบบพัดลมระบายอากาศ ซึ่งทำงานเมื่อปริมาณความเข้มข้น เกินอัตรา LEL (lower explosive limit) ที่กำหนด.
2 แอมโมเนีย (Ammonia)
อันตราย :
- เป็นพิษ ติดไฟ
การป้องกัน :
- ติดตั้งเครื่องตรวจสอบและเตือนภัย จากการตรวจจับไอของสาร
- ติดตั้งระบบพัดลมระบายอากาศ ซึ่งทำงานเมื่อปริมาณความเข้มข้น เกิน 1% (V/V) (P)
3 อีเทน โพรเพน บิวเทน ไอโซบิวเทน อีเทอลีน โพรไพลีน ( Ethane, propane, butane, isobutane, ethylene, propylene)
อันตราย :
อันตราย :
- อัตราการติดไฟสูง มีความเสี่ยงที่จะระเบิด
การป้องกัน :
- ติดตั้งเครื่องตรวจสอบและเตือนภัย จากการตรวจจับไอของสาร
- ติดตั้งระบบพัดลมระบายอากาศ ซึ่งทำงานเมื่อปริมาณความเข้มข้น เกิน 25% ของ LEL
สำหรับสารทำความเย็น กลุ่ม 1 และ 2 เครื่องตรวจจับไอ ของแยกวงจรไฟฟ้าที่ไม่มีการป้องกันทั้งหมด
ในพื้นที่อันตรายให้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ออกแบบสำหรับทำงานในพื้นที่
จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยหายใจ ในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายจากสารทำความเย็น
ในพื้นที่อันตรายให้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ออกแบบสำหรับทำงานในพื้นที่
จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยหายใจ ในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายจากสารทำความเย็น
การป้องกันอันตรายสำหรับการทำงานในห้องเย็น
1. ห้องเย็นต้องสร้างขึ้นถูกต้องตามมาตรฐาน
2. มาตรการป้องกันไม่ให้มีผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลอื่นๆถูกขังติดอยู่ในห้องเย็น :
- เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่เข้าไปภายในห้องเย็นได้
- มีป้าย ห้ามผู้ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปข้างใน ติดเตือนอยู่หน้าประตูทางเข้าห้องเย็น
- มีทางออกฉุกเฉินอย่างน้อย 1 ทาง , มีป้ายเตือนบอกทางในจำนวนที่เพียงพอ และไม่มีวัตถุใดๆกีดขวางทางออกฉุกเฉิน
- มีสัญญาณเตือนภัยสำหรับให้ผู้ที่ติดในห้องเย็นใช้แจ้งให้ผู้อยู่ข้างนอกทราบว่ามีคนติดอยู่ในห้องเย็น ระบบควรทำงานโดยมีแบตเตอรี่สำรอง มีป้ายบอกและติดตั้งสัญญาณเตือนในตำแหน่งที่เหมาะสม
- มีไฟฉุกเฉิน ที่ทำงานด้วยระบบแบตเตอรี่สำรอง
- มีการบำรุงรักษาและทดสอบอุปกรณ์ระบบความปลอดภัย
- ก่อนที่จะล็อกประตูต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดทุกครั้ง
3. การรั่วไหลของสารทำความเย็น
มีแนวทางในการป้องกันอันตราย ดังนี้
มีแนวทางในการป้องกันอันตราย ดังนี้
- ซ่อมบำรุงและควบคุมการทำงานของห้องเย็นโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่ผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดี
- โรงงานที่มีห้องเย็นขนาดใหญ่จะต้องมีแผนงานในแต่ละช่วงเวลา ในการตรวจสอบห้องเย็นโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในส่วนของอุปกรณ์และระบบท่อ ที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายหากชำรุด
- มีแผนฉุกเฉินในกรณีเกิดอุบัติเหตุ และสื่อสารให้ทุกคนรับทราบ
4. การทำงานในสภาพพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ
- จัดหาชุดป้องกันความเย็นที่เหมาะสม
- จัดให้มีห้องพักที่มีสภาพอากาศปกติ กับน้ำอุ่น สำหรับพักเบรก ส่วนระยะเวลาในการพักขึ้นอยู่กับ อุณห๓มิของห้องเย็นและลักษณะงาน
5. ผู้ที่ทำงานในห้องเย็นต้องมีร่างกายที่แข็งแรง จะต้องจัดให้มีการตรวจร่างกายผู้ที่จะต้องทำงานในห้องเย็นก่อนเสมอ
6. สะเก็ดน้ำแข็ง หรือน้ำแข็งที่เกิดขึ้น จะต้องจัดเก็บออกไปทุกวัน
7. อุปกรณ์ที่ใช้งานในห้องเย็นควรจัดให้มีการตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ไม่อันตราย การเลือกซื้ออุปกรณ์ที่นำมาใช้ ควรเลือกให้ถูกประเภทที่จะนำมาใช้ในห้องเย็น เช่น พาเลท หรือ ชั้นวางต่างๆ สามารถหาข้อมูลได้จากผู้จำหน่าย
6. สะเก็ดน้ำแข็ง หรือน้ำแข็งที่เกิดขึ้น จะต้องจัดเก็บออกไปทุกวัน
7. อุปกรณ์ที่ใช้งานในห้องเย็นควรจัดให้มีการตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ไม่อันตราย การเลือกซื้ออุปกรณ์ที่นำมาใช้ ควรเลือกให้ถูกประเภทที่จะนำมาใช้ในห้องเย็น เช่น พาเลท หรือ ชั้นวางต่างๆ สามารถหาข้อมูลได้จากผู้จำหน่าย